วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553


ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software)

หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟต์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
คำว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย
จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์
กล่าวกันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ












ประวัติความเป็นมาบ้านเรือนไทย

บ้านไทย หมายถึง บ้านไทยหรือเฉพาะตัวเรือนไทยโบราณภาคกลางสร้างด้วยไม้มีบริเวณ เพราะเรือนไทยสร้างเป็นหลังๆ หรือกลุ่มย่อมมีบริเวณด้วย ทั้งนี้อนุโลมตามภาษาพูดและความเข้าใจ เช่นกล่าวว่า ปลูกบ้านก็หมายถึงปลูกเรือนนั่นเองและคำว่า เรือน ในภาษาพูดไม่ค่อยนิยมใช้มักใช้คำว่า บ้าน แทนเป็นส่วนใหญ่และในบางกรณีพูดว่า มีเรือน หมายถึงหญิงหรือชายได้สมรสเป็นผัวเมียกันแล้วก็ได้ ความหมายคือมีเรือนหอสำหรับพักอาศัยสำหรับครอบครัวเริ่มต้น

เรือนหมู่
คือเรือนปลูกอยู่ในที่เดียวกันมีหลายหลังในระยะต่อมาเมื่อมีความเจริญแล้วอาจมีนอกชานแล่นกลางติดต่อกันได้ตลอด เรือนเหล่านี้หลังหนึ่งเป็นเรือนเดิมซึ่งพ่อแม่อยู่ ส่วนนอกนั้นเป็นเรือนหลังย่อมกว่าเป็นที่อยู่ของบุตรสาวที่มีเรือนไปแล้วจะมีจำนวนกี่หลังก็สุดแล้วแต่จำนวนบุตรสาวซึ่งมีเรือนแล้วไปปลูกเรียงกันถัดเรือนเดิมออกมาทางด้านหน้าทั้งสองข้าง เรือนหลังเดิมเรียกว่าหอกลาง ส่วนเรือนนอกนั้นเรียกหอรี เพราะปลูกไปตามยาวถ้ามีเรือนปลูกอีกหลังหนึ่งเป็นด้านสกัด ก็เรียกว่าหอขวาง ตามปรกติมักกั้นฝาแต่สามด้าน เปิดโล่งไว้แต่ด้านหน้า สำหรับเป็นที่รับแขก ถ้าเรือนหมู่นี้เป็นของคหบดีผู้มั่งคั่งมักมีเรือนโถงปลูกขึ้นหลังหนึ่งที่ตรงกลางชานสำหรับเอาไว้นั่งเล่นหรือใช้เป็นที่เมื่อเวลามีงาน เช่น สวดมนต์เลี้ยงพระ เป็นต้น หอนั่งนั้นไม่จำเป็นจะต้องปลูกอยู่กลางชานเสมอไป จะใช้เรือนหลังไหนซึ่งยังไม่มีคนอยู่และเปิดเป็นห้องโถงใช้เป็นหอนั่งก็ได้นอกจากนี้อาจมีเรือนหลังเล็กๆ สำหรับเลี้ยงนกจะปลูกไว้ตรงไหนก็ได้แล้วแต่จะเห็นเหมาะ เรือนอย่างนี้เรียกว่าหอนก ด้านหลังของหอนั่งมักปลูกเป็นร้านต้นไม้ โดยมากเป็นไม้เถาซึ่งดอกมีกลิ่นหอม คำว่า บ้าน หมายถึง เรือน ตึก ที่อยู่อาศัย และคำว่าบ้านไทยภาคกลางในที่นี้หมายเฉพาะถึงเรือนแบบไทยมีลักษณะดังนี้คือ สร้างด้วยไม้เป็นส่วนใหญ่ หลังคาทรงสูง ฝาปะกนหรือฝาลูกฟัก ยกถอดประกอบได้เป็นเรือนชั้นเดียวใต้ถุนสูงและเป็นที่นิยมปลูกสร้างกันในภาคกลางโดยทั่วไปและนิยมปลูกกันริมแม่น้ำริมคลอง เพราะในสมัยโบราณแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคมหลักบ้านจึงอยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองเพื่อความสะดวกในการเดินทาง

บ้านเรือนไทยสองหลัง
เป็นบ้านเรือนไทยภาคกลางจำลอง ประกอบด้วย เรือนนอนใหญ่ และเรือนครัวทำจากไม้สักทองทั้งหลัง

บ้านเรือนไทยสามหลัง
เป็นบ้านเรือนไทยภาคกลางจำลอง ประกอบด้วย เรือนนอนใหญ่ เรือนนอนเล็กและเรือนครัว ทำจากไม้สักทองทั้งหลัง

ประวัติช้างไทย












ประวัติช้างไทยและเรื่องราวของเพนียดคล้องช้าง
ประวัติช้างไทย

ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และเป็นที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา และประเทศไทยยังเคยมีธงชาติที่ประทับลายช้างเผือกไว้ด้วย ถ้าพูดถึงในสมัยก่อนนั้น ช้างมีความสำคัญมากในด้านการศึก ด้านการทำสงคราม ช้างทำให้ ขุนนางได้เลื่อนยศมามากคนแล้ว และคนไทยเราก็นิยมในช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างของกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก แต่ว่าหาได้ยากมาก ซึ่งในการศึก ช้างจะเป็นพาหนะของแม่ทัพ ซึ่งจะมีการศึกบนหลังหลังช้าง เรียกว่า ยุทธหัตถี ถือเป็นการสู้ที่มีเกียรติมาก

กล้วยไม้ไทย












ประวัติกล้วยไม้
กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา